วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Cooperative  Learning)
            ความหมาย
            สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
            อาภรณ์  ใจเที่ยง  (2550 : 121) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถต่างกัน ได้ร่วมมือกันทำงานกลุ่มด้วยความตั้งใจและเต็มใจรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในกลุ่มของตน ทำให้งานของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายของงานได้
            สลาวิน  (Slavin, 1987 : 7-13)  อ้างใน  ไสว ฟักขาว (2544 : 192) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า  หมายถึง  วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  โดยทั่วไปมีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน  สมาชิกกลุ่มมีความสามารถในการเรียนต่างกัน  สมาชิกในกลุ่มจะรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับการสอน  และช่วยเพื่อนสมาชิกให้เกิดการเรียนรู้ด้วย  มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  โดยมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน  คือ  เป้าหมายของกลุ่ม 
            ไสว  ฟักขาว (2544 : 193) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน  และส่วนรวม  เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
            จากความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือข้างต้น  สรุปได้ว่า  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 4-6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จของกลุ่ม
วัตถุประสงค์ 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 121) ได้กล่าวว่า ดังนี้
            1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มได้ฝึกบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
            2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดค้นคว้า  ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ทักษะการคิดสร้างสรรค์  การแก้ปัญหา  การตัดสินใจ  การตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  การใช้ภาษา  การพูด ฯลฯ
            3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางสังคม  การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  การมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น  การเสียสละ  การยอมรับกันและกัน  การไว้วางใจ  การเป็นผู้นำ  ผู้ตาม  ฯลฯ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
            นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ดังนี้
จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson and Johnson, 1987 : 13 - 14) อ้างใน  ไสว-ฟักขาว (2544 : 193-194) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ดังนี้
1.  ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก  (Positive Interdependence) หมายถึง
2.  การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน  (Face  To  Face  PronotiveInteraction) 
3.  ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน  (Individual  Accountability) 
4.  การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence  and  Small  Group  Skills)  ทักษะระหว่างบุคคล  และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย 
  และในปี ค.. 1991 จอห์นสัน และ จอห์นสัน  ได้เพิ่มองค์ประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือขึ้นอีก 1 องค์ประกอบ  ได้แก่
5. กระบวนการกลุ่ม  (Group Process) เป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนหรือวิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  นั่นคือ  สมาชิกทุกคนต้องทำความเข้าใจในเป้าหมายการทำงาน  วางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน  ดำเนินงานตามแผนตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงงาน
             จอห์นสัน  (Johnson  and  Johnson, 1987 : 25 ) อ้างใน  ไสว ฟักขาว   (2544 : 195) ได้สรุปความแตกต่างระหว่างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือกับกลุ่มการเรียนแบบดั้งเดิมไว้ดังนี้
ตารางที่  4 ความแตกต่างของการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้แบบดั้งเดิม

การเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative  Learning)
การเรียนรู้เป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม
(Traditional  Learning)
1. มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างสมาชิก
2. สมาชิกเอาใจใส่รับผิดชอบต่อตนเอง
3. สมาชิกมีความสามารถแตกต่างกัน
4. สมาชิกผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ
5. รับผิดชอบร่วมกับสมาชิกด้วยกัน
6. เน้นผลงานและการคงอยู่ซึ่งความเป็นกลุ่ม
7. สอนทักษะทางสังคมโดยตรง
8. ครูคอยสังเกตและหาโอกาสแนะนำ
9. สมาชิกกลุ่มมีกระบวนการทำงานเพื่อ    ประสิทธิผลกลุ่ม
 1. ขาดการพึ่งพากันระหว่างสมาชิก
 2. สมาชิกขาดความรับผิดชอบในตนเอง
 3. สมาชิกมีความสามารถเท่าเทียมกัน
 4. มีผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งเพียงคนเดียว
 5. รับผิดชอบเฉพาะตนเอง
 6. เน้นที่ผลงานเพียงอย่างเดียว
 7. ทักษะทางสังคมถูกละเลย
 8. ครูขาดความสนใจหน้าที่ของกลุ่ม
 9. ขาดกระบวนการในการทงานกลุ่ม

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ 
วันเพ็ญ  จันเจริญ (2542 : 119) กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ มีดังนี้
1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก  เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่ม  ทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน
2. สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด  พูดแสดงออก  แสดงความคิดเห็น  ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน
3. เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน  เช่น  เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง  ทำให้เด็กเก่ง  ภาคภูมิใจ  รู้จักสละ
เวลา  ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
4. ร่วมกันคิดทุกคน  ทำให้เกิดการระดมความคิด   นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะสมที่สุด  เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาก  และวิเคราะห์และตัดสินใจเลือก
5. ส่งเสริมทักษะทางสังคม  เช่น  การอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกันและกัน  อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร  ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
สรุปได้ว่าวิธีสอนเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินการสอน  วิธีสอนแบบใดแบบหนึ่งก็คือขั้นตอนในการดำเนินการสอนซึ่งมีองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น  ดังนั้นผู้สอนจึงควรศึกษาให้เข้าใจลักษณะเด่นหรือแก่นสำคัญของวิธีสอนแต่ละวิธี  เพื่อช่วยให้สามารถใช้วิธีแต่ละวิธีได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของวิธีนั้น ๆ นอกจากนั้นวิธีสอนบางวิธียังมีชื่อเป็นได้ทั้งวิธีสอนและรูปแบบการสอน  ผู้สอนจึงจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบสำคัญของวิธีสอนและรูปแบบการสอนอย่างชัดเจน  เพื่อจะได้สามารถวิเคราะห์และจำแนกความแตกต่างได้  วิธีสอนมีให้เลือกอย่างหลากหลาย  ครูผู้สอนจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบทเรียนและจุดมุ่งหมาย  การใช้วิธีสอนหลากหลายวิธี  นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนแล้ว  ยังสามารถช่วยให้บทเรียนมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น  และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย  
(ทิศนา  แขมมณี, 2550 : 383)



วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการเรียนการสอน

                          ถ่ายรุปร่วมกับนักเรียนที่ปรึกษา
แสดงความยินดีรับนักเรียนที่ปรึกษาที่ได้โควตาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

             นักเรียนในปรึกษาสอบได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

                             ร่วมทำบุญเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

                          ศึกษาดูงานที่จังหวัดจันทบุรี
                              ร่วมงานในพิธีวันไหว้ครู


                           ทัศนศึกษา  ณ  จังหวัดสมุทรปราการ
                                                    
   ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียน ด.ญ.ปานตะวัน   ฝากไธสง  ที่สอบวัดความรู้วิชาภาษาไทย ของบริษัทเสริมปัญญาได้ที่  ๑  ของจังหวัด

ทัศนศึกษา  ที่บ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี


                                        
                        ร่วมลงคะแนนเลือตั้งประธานนักเรียน

               การแสดงของนักเรียนเนื่องในงานวันพ่อแห่งชาติ

ทัศนศึกษาที่วัดเจดีย์ชัยมงคล  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอด็ด

การพัฒนาตนเอง

 เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ณ ศูนย์ประสานงานมัธยมศึกษา (ศูนย์ที่  ๓๑ ) วันที่  ๓๐ - ๓๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๓

 อบรม I D  PLAN
 เข้ารับการอบรมการอ่านทำนองเสนาะ  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน

ประวัติ

ชื่อนางสาวสุชญา   กระชุงรัมย์  เกิด  ๒๕  กันยายน  ๒๕๑๑  ที่อยู่  ๖๙ 
หมู่  ๓  ตำบลสนวน   อำเภอห้วยราช   จังหวัดบุรีรัมย์  ๓๑๐๐๐ 
ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา   จากโรงเรียนวัดบ้านสวนวน  อำเภอเมือง  
จังหวัดบุรีรัมย์  (ปัจจุบันอำเภอห้วยราช)
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนห้วยราชพิทยาคม 
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันอำเภอห้วยราช)
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
จากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม  
อำเภอเมือง   จังหวัดบุรีรัมย์
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  (ค.บ.) สาขาวิชาเอกภาษาไทย 
จากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์
ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโท  หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต 
 สาขาวิชาการกีบริหารการศึกษา (ศษ.ม.)  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รุ่นที่ ๓  ศูนย์พุทไธสง
ประวัติการรับราชการ
  เริ่มรับราชการ  เมื่อ ๒  มีนาคม  ๒๕๓๖  ที่โรงเรียนหนองงูเหลือม(สาขา)
 อำเภอจักราช (ปัจจุบันอำเภอเฉลิมพระเกียรติ)   จังหวัดนครราชสีมา
        ๑   กรกฎาคม  ๒๕๓๗  -  ๑๔  กันยายน  ๒๕๔๐ ดำรงตำแหน่ง
ที่โรงเรียนหนองขามพิยาคม 
         อำเภอจักราช  จังหวัดนครราชสีมา
๑๕  กันยายน ๒๕๔๐  -    ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะชำนาญการ 
โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม  ตำบลคูเมือง  
อำเภอคูเมือง   จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๑๙๐